วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด-กล้วยไม้(กระดาษ)

ตู้เขี่ยเชื้อนับว่ามีความจำเป็นระดับต้นๆ ของผู้ที่ทำอาชีพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เช่น เห็ด กล้วยไม้

การออกแบบตู้เขี่ยเชื้อเห็ด
เริ่มจากแนวคิดที่ว่า การเขี่ยเชื้อต้องอยู่ในที่ที่ปลอดเชื้อ โดยใช้ยูวี (Ultraviolet Type C หรือตัวย่อ UVC) มีช่วงความยาวคลื่นประมาณ 100-280 nm(นาโนเมตร) เป็นอุปกรณ์ในการฆ่าเชื้อโรคในอากาศ ภายในตู้

 ฉะนั้นหัวใจในการออกแบบคือ อากาศภายในตู้ต้องปลอดเชื้อ ลักษณะของโครงสร้างภายนอกเป็นตัวป้องกัน และกักอากาศไว้  เพื่อให้อากาศสัมผัสกับ แสงยูวีมากที่สุด  การออกแบบให้ตู้เขี่ยเชื้อเอียง(อย่างตู้เขี่ยเชื้อทั่วไป)  ไม่ใช่เป็นสิ่งจำเป็นในการฆ่าเชื้อโรค  แต่เพียงเพื่อความสะดวกในการทำงานเท่านั้น
ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษใบแรกขณะทดสอบ

ทำตู้เขี่ยเชื้อเห็ดใช้เอง(กล่องกระดาษ)  ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด(กระดาษ)ได้เกิดขึ้นครั้งแรกโดย อาจารย์ทวียศ ศรีสกุลเมฆี ศูนย์เรียนรู้บ้านเห็ด(บ้านเห็ด) เห็นว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่คนที่เรียนเพาะเห็ด จะสามารถนำความรู้ในเรื่องการเขี่ยเชื้อเห็ดไปใช้ได้ เพราะตู้เขี่ยเชื้อ หรือห้องปลอดเชื้อในปัจุบันราคาสูงมาก  จึงได้คิดออกแบบตู้เขี่ยเชื้อทำด้วยกระดาษขึ้นใช้ ครั้งแรกในต้นปี พ.ศ 2556

การไหลของระบบอากาศภายในตู้เขี่ยเชื้อ


ตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ ทำด้วยกระดาษลูกฟูก(กล่องกระดาษแข็ง)  รูป4เหลี่ยม เจาะรูใส่กระจกและมีฝาเปิดพอให้มือสามารถมุดเข้าไปทำงานได้ ติดตั้งหลอด ยูวี ฆ่าเชื้อโรค และหลอดนีออน ให้แสงสว่าง  มีการระบายอากาศร้อนแบบธรรมชาติ

ข้อดีของตู้เขี่ยเชื้อกระดาษ    
  1. ราคาถูก สามารถทำใช้เองได้
  2. ใช้ในงานสนามได้ดี ประกอบง่าย น้ำหนักเบา
  3. เคลื่อย้ายได้ง่าย
 


  นวัตกรรมใหม่ของวงการเห็ด "ตู้เขี่ยเชื้อเห็ด(กระดาษ)"

อบรมเพาะเห็ดอย่างมืออาชีพ มีการสอนทำตู้เขี่ยเชื้อกระดาษใช้เอง
ปัจจุบันตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ) เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างของผู้ที่ทำอาชีพเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อเห็ด-กล้วยไม้เป็นอย่างมาก  เราได้มีการออกแบบและปรับปรุงตู้เขี่ยเชื้อกระดาษออกมาหลายรุ่น จนถึงรุ่นปัจุบันได้มีการออกแบบร่วมกับโรงงานผลิดกล่องกระดาษที่ได้มาตรฐาน  มีการพับ เจาะรู้และตัด โดยเครื้องมืออันทันสมัย ตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ)รุ่นปัจจุบัน จึงเป็นรุ่นที่สมบูรณ์ที่สุด

วัสดุ/อุปกรณ์

  1. กระดาษกล่องลูกฟูก หนา5ชั้นอย่างดี
    ตู้ดเขี่ยเชื้อกระดาษ รุ่นล่าสุดขณะใช้งานจริง
  2. การพับและประกอบ  โดยใช้วิธีการออกแบบกล่องกระดาษรับน้ำหนัก
  3. การเจาะช่องและรูได้มาตรฐานเดียวกันทุกตู้
  4. มีจุดยึด Lock 4จุด
  5. ติดระบบระบายความร้อนในตู้  โดยพัดลมดูดอากาศทั้งนี้ไม่ส่งผลให้อากาศภายนอกเข้ามาทำให้อากาศภายในตู้ไม่สะอาด
  6. ติดตั้งยูวี ฆ่าเชื้อโรคในอากาศ แบบ C หรือ UVC ขนาด10W
  7. มีหลอดไฟนีออนขนาด 10W
ตู้เขี่ยเชื้อ(กระดาษ)รุ่นใหม่


การใช้งานตู้เขี่ยเชื้อเห็ด(กล่องกระดาษ)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น